วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัย ในภาษาชาวบ้าน


มหาวิทยาลัย ในภาษาชาวบ้าน

เบื่อๆกับงานประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย เอะอะ ก็ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ โครงการ แผนงาน ตัวชี้วัด บลา บลา บลา ... ฮ่วยแปลไม่ค่อยออก อ่ะ  เอาเป็นว่าส่วนใหญ่ที่เห็นนะ โคตรสวยหรู แต่จับต้องไม่ได้จริง

แล้วเวลาจะให้ทำอะไร ก็เอะอะจะให้ “นักเรียนเป็นศูนย์กลาง”  “หาเงิน”  “บูรณาการ”  “หาเงิน”  “วิจัย”  “หาเงิน”  “เพิ่มบัณฑิตศึกษา”  “หาเงิน”  “จำกัดจำนวน ป.ตรี”  “หาเงิน”   

เอาเป็นว่า สมมติจะเขียนหาเสียงเป็นอธิการบดีซะเองเนี่ย จะคิดคำเหล่านี้ว่าอย่างไรดี ที่เขียนให้ชาวบ้าน เข้าใจรู้เรื่อง ไม่ต้องแปล และไม่ประชานิยม

พันธกิจ

เอาเหอะ ผมมองตามเขาบอกว่า นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผมก็มองง่ายๆแบบนี้ครับ
มหาวิทยาลัย คือ สถานศึกษาที่ผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับโลก (เหอะ เหอะ) โดยที่
- บัณฑิต ระดับโลก มีลักษณะคือ มีความรู้เพียงพอในการศึกษาขั้นสูง มีทักษะเพียงพอในการปฏิบัติงานในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณ มีจริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ มีความเข้าใจในโลกาภิวัฒน์ มีทักษะการสื่อสารทั้งด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ
- มหาบัณฑิต ระดับโลก มีลักษณะคือ บัณฑิตระดับโลก บวกกับ มีสามารถบูรณาการความรู้เพื่อแก้ปัญหาโจทย์วิจัยในสาขาวิชานั้นๆ
- ดุษฎีบัณฑิต ระดับโลก มีลักษณะคือ มหาบัณฑิตระดับโลก บวกกับ มีความสามารถสร้างงานวิจัยในสาขาวิชานั้นๆ

อัตลักษณ์

ผมว่าการพูดความดีเป็นอัตลักษณ์ มันก็งั้นๆแหละครับ เหมือนคำขวัญวันเด็ก เกินไปครับ เอะอะ ก็ รู้รัก สามัคคี ขยันหมั่นเพียร ออมประหยัด ซื่อสัตย์ อะไรทำนองนี้ การเอา “ความดี” มาเป็นอัตลักษณ์สำหรับผมมันตลกไปหน่อยนะ มหาลัยแห่งแผ่นดินนี้ ผมเคยได้ยินคนพูดมานานแล้วหละว่าถ้าถามว่าจบจากสถาบันอื่นอย่างไร ก็มักสรุปลักษณะที่ชัดเจนได้ ดังนี้
-              ติดดิน
-              รู้จริง
-              ทำได้
-              อดทน

วิสัยทัศน์

โทษทีเถอะ ผมมีวิสัยทัศน์ที่ไม่อยากไประดมสมองกับใคร ผมอาจติดการออกแบบโดยใช้ Use Case มากไปหน่อย แต่ก็คงเพราะมันได้ Usability ดีหละมั้ง ก็เลยอยากได้บ้านๆแบบนี้จริงนะครับ
มหาลัยนี้เป็นมหาลัยที่เข้าใจถึงความหลากหลายและแตกต่าง โดยที่
บุคคลทั่วไปมองว่า เข้ามาเรียนแล้วได้ปริญญาออกไปแล้วหางานได้ง่าย 
บุคลากรทางวิชาการมองว่า พื้นฐานวิชาการและวิจัยแน่น ทำงานเนื้อๆเน้นๆ เอาไปใช้ประโยชน์ได้
สังคมมองว่า เป็นผู้ชี้นำทิศทางต่างๆอย่างมีหลักการและเชื่อถือได้
ประเทศชาติ มองว่ามหาลัยนี้คือทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ

ยุทธศาสตร์

โทษทีผมก็เขียนแบบบ้านๆนี่แหละ จริงๆไอเดียก็ลอก ฝรั่ง ญี่ปุ่น มาดัดแปลงแหละนะ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ วิจัยระดับเทพ
     กลยุทธ ๑ สร้าง “ดุษฎีบัณฑิต” ที่ทำงานวิจัยเองได้
        กลยุทธ ๒ สร้างความร่วมมือการวิจัยกับต่างประเทศ
        กลยุทธ ๓ ควานหานิสิตที่เก่งที่สุดมาเรียน
        กลยุทธ ๔ สร้างนิเวศน์การทำวิจัยอย่างมีระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ที่พึ่งชาวบ้าน
     กลยุทธ ๑ เผยแพร่ความรู้เพื่อให้ทำงานได้ด้วย ป.โท
        กลยุทธ ๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการบริการวิชาการ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ (เหนื่อย)
---
ประเด็นในยุทธศาสตร์ที่ ๑
อาจารย์ที่รับ ป.เอกได้ (1507 คน) แต่ละคน ถ้าต้องผลิต ดุษฎีบัณฑิต ปีละ ๑ คน นั่นคือ ถ้าช่วงการเรียนมีระยะสามปี อาจารย์แต่ละคนจะต้องรับ นิสิตดูแล ๓ คนอย่างต่อเนื่อง ทำให้จะต้องมีนิสิต ป.เอกอยู่ตลอดเวลา  4521 คน  สมมุติว่า นักเรียน ป.เอก ๑ คนจะอยู่ได้ด้วยทุนเพื่อเรียนเต็มเวลาได้ จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่อหัว 12000 บาท (ตัวเลขทุน คปก - นิสิตจะต้องอยู่ได้ครับ เขาจบ ป.โท ได้เงินเดือนเกิน สองหมื่นอยู่แล้ว แต่ต้องเสียโอกาสเกินเงินที่เราจะจ่ายด้วยซ้ำ เราต้องให้เขาอยู่ได้ครับแถมเขามีโอกาสได้ปริญญาด้วย มิฉะนั้น ไม่มีใครเรียนหรอกครับ เหมือนเมืองนอกแหละครับที่เขาต้องให้ทุนเรียนเฉพาะคนเก่งๆ ส่วนเด็กกะเหรี่ยงที่ได้ทุนไปเรียน เขาก็ไม่ให้ซ้ำหรอก แล้วเด็ก ป.ตรี ที่เมืองนอกจบแล้วไปทำอะไรกันครับ ก็ทำงานไง ได้เงินเดือนมากกว่าเรียนเยอะแยะ  -- พ่อผมบอกว่าส่งเอ็งเรียน ป.เอก เสีย สิบล้าน ให้เงินเอ็งสิบล้านเฉยๆแล้วจะไปเรียนไม๊) นั่นคือ แต่ละปีจะต้องช่วยให้นิสิตอยู่รอดได้จะต้องมีทุนดังนี้
รายการ
รายเดือน
รายปี
 ยอดเงิน
อาจารย์ (คน)


1,507
ระยะเรียนป.เอกเฉลี่ย (ปี)


3
จำนวนบทความต่อ ดุษฎีบัณฑิต


1
จำนวนนิสิต ป.เอกที่ต้องมี


4,521
เงินค่า RA
12,000
144,000
651,024,000
ค่าตอบแทนการตีพิมพ์ต่อบทความ

40000
60,280,000
ทุนวิจัยเฉลี่ยต่ออาจารย์

50000
75,350,000
รวมค่าใช้จ่าย


786,654,000
จำนวนบทความที่ได้


1,507
เงินทุนต่อบทความ


522,000

มีทุนดีก็น่าจะช่วยหาเด็กเก่งๆ อย่างน้อยที่สุด นิสิตที่เคยเรียน ป.ตรี ด้วยมาอยู่กับเราต่อก็หรูแล้ว
การให้ RA ควรเป็นส่วนหนึ่งของการให้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งควรอยู่ในนิเวศน์การทำวิจัย

ยังไม่จบหรอกนะ  แต่เริ่มรู้สึกเหนื่อยแล้ว  และไม่รู้จะเขียนไปทำไม ให้คนที่เก่งๆเขียนต่อให้เสร็จก็แล้วกัน  ขอโทษทำผู้อ่านเซ็ง

แต่เขียนไปก็เท่านั้นแหละ    มหาลัยนี้ ... (เติมกันเอาเอง - สำหรับผมเองผมเติมว่า "ผมมันแค่ลูกจ้าง")

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน วิชาระเบียบวิธีวิจัย หลักสูตร ปริญญาโทเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคปลาย 2554

วิชาระเบียบวิธีวิจัย

หลักสูตร ปริญญาโทเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาค 2/2554 วันอังคาร เวลา 18-21

เนื้อหาหลักสูตร

หลักและระเบียบวิธีวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคการนำเสนอข้อมูล การเขียนรายงานวิจัย การประเมินผลการวิจัย

อาจารย์ผู้สอน

รองศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า (pp@ku.ac.th)

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย นำประเสริฐชัย (snp@ku.ac.th)

การจัดการชั้นเรียน

-           แยกเป็นสองหมู่ สำหรับกลุ่มที่วิทยานิพนธ์และกลุ่มที่ทำการศึกษาด้วยตนเอง

-           ในกลุ่มที่ทำวิทยานิพนธ์ จะเน้นการทำวิจัยเพื่อให้ได้วิทยานิพนธ์ที่สามารถตีพิมพ์ได้เป็นหลัก โดยจะเน้นการฝึกปฏิบัติรายบุคคลเป็นหลัก

-           ในกลุ่มที่ทำการศึกษาด้วยตนเอง จะเน้นการแก้ปัญหาภายในองค์กรของตนเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ได้ แต่เน้นการแก้ปัญหาได้จริง และมีหลักการ โดยจะต้องทำเป็นทีม (๑-๒ คน)

-           เป้าหมายของโครงงานของทั้งสองกลุ่มจะต้องเสร็จสิ้นในภาคการศึกษาเท่านั้น

การให้คะแนน

-           การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน (40%)

-           โครงงาน (ข้อเสนอโครงการ / รายงานขั้นสุดท้าย / โปสเตอร์) (60%)

-           การตัดเกรด จะพิจารณาร่วมกันตามสัดส่วนคะแนนข้างต้น

เอกสาร

-           เอกสารประกอบให้ดูจากเว็บไซต์ http://mad.cpe.ku.ac.th/~pp/rm/  โดยบางส่วนจะพิมพ์แจกในห้องเรียน

แผนการเรียน

งดเรียนวันที่ ๓ มกราคม จะแจ้งการชดเชยภายหลัง

 

วัน

ผู้สอนหมู่ Thesis

ผู้สอนหมู่IS

เนื้อหา

๒๐ ธ.. ๕๔

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การวิจัยในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒๗ ธ.. ๕๔

พันธุ์ปิติ

สมชาย

ข้อเสนอโครงการ

๑๐ ม.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอ

๑๗ ม.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การสืบค้น

๓๐ม.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอข้อเสนอวิจัย ๑

๓๑ม.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอข้อเสนอวิจัย ๒

๑ ก.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอข้อเสนอวิจัย ๓

การนำเสนอจะคละกันโดยมีจำนวนกลุ่มที่บรรยายวิทยานิพนธ์และ IS เท่าๆกันทั้งสองห้อง

๑๔ ก.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

สรุปการนำเสนอ

๒๑ ก.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

ข้อมูลและการเก็บข้อมูล

๑๐

๒๘ ก.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล

๑๑

๖ มี.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การจัดทำรายงานขั้นสุดท้าย และจริยธรรมนักวิจัย

๑๒

๒๖ มี.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอผลงานวิจัย ๑

๑๓

๒๗ มี.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอผลงานวิจัย ๒

๑๔

๒๘ มี.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

การนำเสนอผลงานวิจัย ๓

การนำเสนอจะคละกันโดยมีจำนวนกลุ่มที่บรรยายวิทยานิพนธ์และ IS เท่าๆกันทั้งสองห้อง

๑๕

๓ เม.. ๕๕

พันธุ์ปิติ

สมชาย

สรุป