เหตุผลที่นักวิชาการ "ตัวจริง" ไม่ค่อยอยากให้ข้อคิดเห็นเชิงสาธารณะ
- คิดว่าให้ไปแล้วรัฐอาจไม่ฟัง แถมอาจจะโดนอาวุธหนักถล่ม
- แห็นว่าพวกออกสื่อมีแต่ให้นักวิชาการที่ไม่รู้จริงแต่ลีลาดี เลยกลัวคนมือดีในวงการจะเหมารวมว่า "อยากดัง" ด้วย
- มีชื่อเสียง เป็นภัยรูปแบบหนึ่ง สำหรับนักวิชาการ (ลองมองหาคนที่มีชื่อเสียงในมหาลัยและเก่งจริงในสาขาก็มีเยอะครับ เขาก็รู้มือกัน คนนอกต่างหากไม่รู้ แต่นักข่าวควรรู้)
- เพราะรู้ทั้งรู้คนเก่งในหน่วยงานรัฐตัวจริงก็มีเยอะแยะ แต่พวกนั้นไม่ได้โต หรือไม่ใช่พวกนักการเมือง ไม่อยากข้ามหน้าคนที่ตนนับถือ
- ยังจำเป็นต้องพึ่งพาจากหน่วยงานรัฐ ในโอกาสอื่น
- เสนอข้อมูลให้คนเกษียณแล้วพูดแทน จะปลอดภัยกว่า
- รู้ตัวว่าพูดไม่เก่ง เดี๋ยวชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง
- กลัวโดนจับเป็นแพะ
- ให้น้ำหนักจรรยาบรรณมากเกินประโยชน์สาธารณะ เพราะไม่มั่นใจ ๑๐๐% ว่าสิ่งที่พูดจะเวิร์ค
- ช่วยเบื้องหลังดีกว่า เพราะมักคิดว่าถ้าเห็นเรามีคุณค่าเขาก็มาเองแหละ
- อีกที นักวิชาการไทยที่เก่งๆ คนวงในเขาก็รู้มือ งานก็เพียบ ช่วยงานประเทศชาติเบื้องหลังตลอด แต่สาธารณะไม่รู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น