วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สรุปสั้นๆ ของน้ำท่วม ๒๕๕๔

ต้นฉบับพร้อมความเห็นใน Facebook

ข้อสรุป เหตุผลน้ำท่วม ๒๕๕๔

ขอสรุปสั้นสุด "ขาดธรรมาภิบาล"

แต่ถ้าจะขยายก็คือ
  • น้ำไม่ต่างจากปี ๒๕๓๘ (แต่ตอนนั้น ไม่มีการจัดการ ไม่มีคันกั้นมากมาย มันก็ไม่ได้เละเทะแบบนี้)
  • ให้ข่าวทุกวันว่าจัดการได้ (ดูเอาเองตามข้อเท็จจริง)
  • ปิดข้อเท็จจริงจนหยดสุดท้าย
  • ให้ข้อมูลโดยไร้หลักวิชาการ (เช่น "ผมเดาเอานะ...")
  • มีข้อมูลที่ดีพอต่อการตัดสินใจ แต่... (ตามเว็บกรมชล ก็ได้ข้อเท็จจริงตามนั้นจริงๆ แต่การจัดการก็นะ หน่อมแน้ม สุดๆ)
  • ให้ความสำคัญแก่นโยบายที่หาเสียงมากกว่าข้อเท็จจริง (ปล่อยน้ำเข้าทุ่งก่อนหน้านี้ ก็คงผิด concept "ลาก่อน น้ำท่วม น้ำแล้ง" ... ไม่อยากจะเดาว่าเดี๋ยวก็แล้งอีก ดูจาก performance รอบนี้)
  • บริหารจัดการโดยใช้อำนาจ ตามผลของฐานเสียง (ขาใหญ่สั่งห้ามท่วมที่โน่นที่นี่ จนทำอะไรไมได้)
  • ประเทศไร้ผู้นำที่เก่ง (มีแต่ผู้อยากนำ)

ทำไมวิศวกรคุยกะใครไม่รู้เรื่อง

ต้นฉบับเป็น Status Update ใน Facebook

วิศวกรคุยกับใครไม่รู้เรื่อง

จริงๆจั่วหัวไว้อย่างนั้นแหละครับ ไม่ได้หมายถึงวิศวกรอย่างเดียวหรอกครับ ทุกอาชีพที่คิดแต่มุมของตัวเองไม่มองจากมุมของคนอื่นก็เป็นแบบนี้เหมือนกันหมดแหละ ผมเขียนไว้ก่อนใน Facebook แต่จะเอามาเก็บไว้อ่านง่ายๆที่นี่ครับ

การพยากรณ์น้ำท่วม ให้ชาวบ้านฟัง ควรบอกเหมือนพยากรณ์อากาศในการบอกว่า อาจท่วมตรงไหน เท่าไร ด้วยโอกาสกี่เปอร์เซนต์

ไม่ใช่ใช้ ภาษาวิศวกร (เช่น โมเดล) และ อธิบายด้วย "กรณีเลวร้ายสุด" (ซึ่งมักใช้เฉพาะตอนออกแบบทางวิศวกรรม ที่ไม่ให้ตึกถล่ม เขื่อนพัง)

โดยแน่นอน เราต้องไม่ประมาทโดยใส่ใจสิ่งที่เลวร้ายที่สุด แต่การพยากรณ์จะต้องใช้ข้อมูลจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นไปได้มากที่สุดมา รายงาน

คิดดูเอานะว่า ถ้ากรมอุตุ บอกว่า "ฝนที่ตกอยู่เมื่อวานกลับทวีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น" ถูกต้อง โอกาสมันเป็นไปได้ แต่มันมีโอกาสเท่าไรชาวบ้านก็จะคิดได้เอง แต่เรื่องน้ำท่วมชาวบ้านไม่มีข้อมููลนะ

หวังว่าจะแชร์กันไปถึง คนที่เขาพูดออกทีวีทุกวัน

Worst-case Scenario ของน้ำท่วมกรุงเทพ ๒๕๕๔

ต้นฉบับพร้อมข้อคิดเห็นของเพื่อนๆเขียนไว้ที่ Facebook วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๑๑:๐๕ ... ก่อนที่น้ำจะท่วมกรุงเทพ

สถานการณ์ที่เลวร้ายสุดที่เป็นไปได้

ขอทำ worst-case scenario จากสถานการณ์ปัจจุบันนะครับ อ่านแล้วอย่าตระหนก แค่ให้คิดตามและป้องกัน มองโลกในทางที่ดี แต่ต้องไม่ประมาทต่อสถานการณ์ที่อาจเลวร้ายที่สุด ซึ่งเผื่อรัฐบาลยังจินตนาการถึง scenario นี้ ผมก็ขอช่วยคิดให้

สิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น คือ ติด deadlock ครับ ซึ่งดูเหมือนกำลังจะเกิด เพราะ highway กำลังจะกลายเป็นที่จอดรถ และสะพานข้าม กทม ไปฝั่งตะวันตกขาดไปสองสะพานแล้ว (นนทบุรีและพระรามสี่) แถมไม่มีอะไรกินโดยเฉพาะน้ำสะอาด

ถ้าหากว่า ถ้ากรุงเทพเกิดเป็นเกาะขึ้นมาโดยถนนออกนอกเมืองเส้นสุดท้ายที่จะลงใต้หรือตะวันออกถูกตัดขาด อาหารจะส่งมาไม่ได้ ออกจากเกาะก็ไม่ได้ คนมาช่วยก็ไม่ได้ จริงๆแล้วคนจะมาช่วยก็แทบไม่มี

สิ่งที่เกิดขึ้นที่ New Orleans คือ คนตายไปร่วม ๒๐๐๐ จากการขาดอาหาร ที่พัก และน้ำสะอาด

ถ้าจะไม่ให้เกิดอย่างที่ว่า ต้องกันน้ำประปาให้ได้ และต้องเคลียร์ highway/สะพาน สำหรับลงใต้/ตะวันตก ให้มากพอที่จะขนคนออกจากกรุงเทพก่อนจะ panic สุดๆ

อีกที ไม่อยากให้ตระหนกนะครับ อยากให้มีสติกัน

นักวิชาการกับการชี้นำสังคมในปี ๒๕๕๔

ต้นฉบับพร้อมข้อคิดเห็นของเพื่อนๆ เขียนไว้ใน Facebook

เหตุผลที่นักวิชาการ "ตัวจริง" ไม่ค่อยอยากให้ข้อคิดเห็นเชิงสาธารณะ

  • คิดว่าให้ไปแล้วรัฐอาจไม่ฟัง แถมอาจจะโดนอาวุธหนักถล่ม
  • แห็นว่าพวกออกสื่อมีแต่ให้นักวิชาการที่ไม่รู้จริงแต่ลีลาดี เลยกลัวคนมือดีในวงการจะเหมารวมว่า "อยากดัง" ด้วย
  • มีชื่อเสียง เป็นภัยรูปแบบหนึ่ง สำหรับนักวิชาการ (ลองมองหาคนที่มีชื่อเสียงในมหาลัยและเก่งจริงในสาขาก็มีเยอะครับ เขาก็รู้มือกัน คนนอกต่างหากไม่รู้ แต่นักข่าวควรรู้)
  • เพราะรู้ทั้งรู้คนเก่งในหน่วยงานรัฐตัวจริงก็มีเยอะแยะ แต่พวกนั้นไม่ได้โต หรือไม่ใช่พวกนักการเมือง ไม่อยากข้ามหน้าคนที่ตนนับถือ
  • ยังจำเป็นต้องพึ่งพาจากหน่วยงานรัฐ ในโอกาสอื่น
  • เสนอข้อมูลให้คนเกษียณแล้วพูดแทน จะปลอดภัยกว่า
  • รู้ตัวว่าพูดไม่เก่ง เดี๋ยวชาวบ้านฟังไม่รู้เรื่อง
  • กลัวโดนจับเป็นแพะ
  • ให้น้ำหนักจรรยาบรรณมากเกินประโยชน์สาธารณะ เพราะไม่มั่นใจ ๑๐๐% ว่าสิ่งที่พูดจะเวิร์ค
  • ช่วยเบื้องหลังดีกว่า เพราะมักคิดว่าถ้าเห็นเรามีคุณค่าเขาก็มาเองแหละ
  • อีกที นักวิชาการไทยที่เก่งๆ คนวงในเขาก็รู้มือ งานก็เพียบ ช่วยงานประเทศชาติเบื้องหลังตลอด แต่สาธารณะไม่รู้
ตัวอย่างครับ เรื่อง EM Ball ช่วงน้ำท่วม ๒๕๕๔